เราจะมาทำความรู้จักแต่ละอาคาร กันว่ามี อาคารอะไรบ้าง
อาคารหลังที่ 1 หรือ "อาคารเทิดพระเกียรติมหาราช" แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรก (โซน A) เป็นการนำเสนอวัตถุประสงค์ ความเป็นมาของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงสืบทอดจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามพระราชปณิธาน " เดินตามรอยเท้าพ่อ"จนถึงพระราชดำริเพิ่มเติมในการเรียนรู้ทรัพยากร การใช้ประโยชน์และการสร้างจิตสำนึก โดยมุ่งเทอดพระเกียรติในลักษณะ"เจ้าฟ้านักอนุรักษ์"
ส่วนที่ 2 (โซน B) ของอาคารการจัดการแสดงมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างหิน ดิน และชีวิต อาทิ
กระบวนการเกิดดิน อนุภาคของดินที่เอื้อประโยชน์ต่อระบบนิเวศ งานอุทกศาสตร์ทางทะเล รูปแบบชนิดของหินดินแร่ ความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลอันก่อให้เกิดสภาพภูมิศาสตร์ปัจจุบัน รวมทั้งเรื่องราวของฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ที่คณะสำรวจของโครงการฯ ค้นพบบนเกาะบอน จังหวัดพังงาและร่องรอยอีกมากมายของฟอสซิลภายใต้ท้องทะเล สิ่งที่จัดแสดงเหล่านี้จะทำให้ผู้เข้าชม เข้าใจถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง และหลักฐานที่ใช้สนับสนุนกระบวนการทางวิวัฒนาการ (Evolution) ของสิ่งมีชีวิตและเน้นประจักษ์พยานของทฤษฎีวัฒนาการนี้ด้วยอาคารหลังที่ ๒ หรือ "อาคารปวงปราชญ์ร่วมแรงใจ" แบ่งเป็น ๒ ส่วน
ส่วนแรก (โซน A) มุ่งเสนอนิเวศของป่าพรรณพืชและสัตว์ มีสาระเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพสังคมพืชป่าดงดิบ ป่าผลัดใบ พืชที่พบจากเกาะต่างๆและการค้นพบพันธุ์พืชที่มีอยู่เฉพาะในประเทศไทย
ส่วนที่ ๒ (โซน B) ที่อยู่ถัดไปของอาคารปวงปราชญ์ร่วมแรงใจ มุ่งเสนอในหัวข้อผู้ย่อยสลายในธรรมชาติได้แก่ ปลวก จุลินทรีย์ดิน เห็ดรา สัตว์หน้าดินในดิน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารอันเป็นกระบวนการหมุนเวียนพลังงานที่ก่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ รวมทั้งงานวิจัยที่พบว่า
เชื้อราบางชนิดสามารถสร้างสารเคมีต่อต้านเชื้อมะเร็ง และเชื้อ HIV ได้
อาคาร 3 ใฝ่เรียนรู้ผู้ฉลาด
ส่วนแรก มุ่งเสนอในหัวข้อระบบนิเวศสังคมพืช พืชฝั่งทะเลโดยเน้นระบบนิเวศบนพื้นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ฯ
ในหมู่เกาะแสมสาร รวมทั้งงานวิจัยหลายอย่าง เช่น เรื่องหอยทากบางชนิด และการเกิดหอยชนิด
ใหม ่ที่มีผลจากการแยกตัวของประชากรทางสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งมีการค้นพบหอยทากชนิดใหม่จาก
การ สำรวจของคณะทหารเรือและนักวิทยาศาสตร์ในโครงการฯ ถึง ๓ ชนิด ได้แก่ หอยทากจิ๋วปากแตร หอยมรกต และหอยทากสยาม เป็นต้น
ส่วนที่ ๒ นำเสนอสาระในหัวข้อประโยชน์จากระบบนิเวศป่าชายเลน โดยพาไปรู้จัก "ป่าสามน้ำ"
"ป่าพระจันทร์สร้าง" รวมทั้งป่าชายเลนในฐานะ "ต้นทุนชีวิต" ซึ่งได้สื่อถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตของชุมชนประมง กับทรัพยากรทางทะเล ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวผ่านชีวิต เฒ่าทะเลแห่งชุมชน ซึ่งสะท้อนถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านในการเดินเรือ ด้วยการสังเกตน้ำขึ้นน้ำลง สภาพดินฟ้าอากาศ ลักษณะลม ตำแหน่งดวงดาวบนฟ้า ร่องน้ำ พฤติกรรมของสัตว์น้ำในทะเล เช่น กุ้ง ปลา การใช้เครื่องมือประมง รวมทั้งความเคารพธรรมชาติ โดยจะทำพิธีบูชาแม่ย่านางเรือก่อนออกเดินทะเล เพื่อให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ รวมทั้งประวัติศาสตร์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนชาวประมง
อาคาร 4 พิฆาตความไม่ดีที่ประจักษ์ - การจัดแสดงแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น